เมนู

พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้น
แล้ว เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระ-
อรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย
เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ใน
โลก.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ พระเหมกะนั่งประนมอัญชลี
นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกฉะนี้แล.
จบเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ 8

อรรถกถาเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ 8


พึงทราบวินิจฉัยในเหมกสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้.
บทว่า เยเม ปุพฺเพ วิยากํสุ ในกาลก่อนพวกอาจารย์เหล่านี้
พยากรณ์แล้ว คือในกาลก่อนพาวรีพราหมณ์เป็นต้นพยากรณ์ลัทธิของตน
แก่ข้าพระองค์. บทว่า หุรํ โคตมสาสนา คือ ก่อนแต่ศาสนาของพระ-
โคดม. บทว่า สพฺพนฺตํ ตกฺกวฑฺฒนํ คือ คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยัง
ความวิตกมีกามวิตกเป็นต้นให้เจริญ.
บทว่า เย จญฺเญ ตสฺส อาจริยา พราหมณ์พวกอื่นและอาจารย์
ของพาวรีพราหมณ์ คือพราหมณ์พวกอื่นและอาจารย์ผู้ให้พาวรีพราหมณ์
นั้นศึกษาถึงมารยาท. บทว่า เต สกํ ทิฏฺฐึ คือ อาจารย์เหล่านั้นบอกถึง
ทิฏฐิของตน ๆ. บทว่า สกํ ขนฺตึ คือ ความอดทนของตน. บทว่า

สกํ รุจึ คือ ความชอบใจของตน. บทว่า วิตกฺกวฑฺฒนํ ยังความตรึก
ให้เจริญ คือยังวิตกมีกามวิตกเป็นต้นให้เกิดขึ้น คือให้เป็นไปบ่อย ๆ.
บทว่า สงฺกปฺปวฑฺฒนํ คือ ยังความดำริมีความดำริถึงกามเป็นต้นให้เจริญ.
สองบทเหล่านั้น ท่านกล่าวรวมวิตกทั้งหมด.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงกามวิตกเป็นต้น
โดยสรุป จึงทรงแสดงวิตกทั้งหลาย 9 อย่างโดยนัยมีอาทิว่า กามวิตกฺก-
วฑฺฒนํ
ยังกามวิตกให้เจริญ ดังนี้. บทว่า ตณฺหานิคฺฆาตนํ เป็นเครื่อง
กำจัดตัณหา คือยังตัณหาให้พินาศ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบอกธรรมนั้นแก่เหมก-
มาณพนั้น จึงตรัสสองคาถาว่า อิธ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตทญฺญาย เย สตา พระขีณาสพเหล่าใด
รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้นแล้วเป็นผู้มีสติ คือพระขีณาสพเหล่าใดรู้เห็นแจ้งถึง
บทนิพพานนั้นอันไม่จุติแล้วโดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงดังนี้โดยลำดับ เป็นผู้มีสติด้วยกายานุปัสสนา-
สติปัฏฐานเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมาภินิพฺพุตา มีธรรมอันเห็นแล้วดับ
แล้ว คือ ชื่อว่ามีธรรมอันเห็นแล้ว เพราะเป็นผู้รู้แจ้งธรรม และชื่อว่า
ดับแล้ว เพราะดับกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ
พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วในก่อน
นั่นแล.
จบอรรถกถาเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ 8

โตเทยยมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านโตเทยยะ


[346] (ท่านโตเทยยะทูลถามว่า)
กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่
ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์
ของผู้นั้นเป็นเช่นไร.

[347] คำว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ความว่า กาม
ทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ ไม่อยู่ร่วม ไม่มาอยู่ในผู้ใด.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา โตเทยฺย ดังนี้ เป็นบท
สนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
โดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความ
เคารพยำเกรง. คำว่า โตเทยฺย เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกพราหมณ์
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านโตเทยยะทูลถามว่า.
[348] คำว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความว่า ตัณหาย่อม
ไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่ผู้ใด คือ ตัณหาอันผู้ใดละได้แล้ว
สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น. เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
[349] คำว่า และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว ความว่า
ผู้ใดข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามพ้น ล่วงแล้ว ก้าวล่วงแล้ว เป็น